สิ่งหนึ่งที่ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงเมื่อฝึกเด็กหัดใหม่คือธรรมชาติของผู้ฝึกเลนวอลเลย์บอลจะมีความต้องการเล่นเป็นเกมที่เหหลังจากฝึกทักษะแต่ละอย่างไปแลมือนการแข่งขันมากกว่าฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผู้ฝึกเกิดความเบื่อหน่ายผู้ฝึกสอนสามารถจำลองสถานการณ์เกมการแข่งขันเพื่อใช่ร่วมในการฝึกให้เหมาะกับระดับความสามารถของผู้เริ่มหัดใหม่
ตัวอย่างการนำเกมการแข่งขันมาใช้ร่วมในการฝึก
เกมการขว้างลูกบอลข้ามตาข่าย
วิธีการฝึก
- ขนาดสนาม 4.5x18 เมตร
- เกม 1x1 ใช้การโยนบอลข้ามตาข่ายไปยังฝั่งคู่ต่อสู้ อีกฝ่ายจะรับลูกบอลและโยนกลับโดยไม่ให้ลูกบอลตกพื้น
- เกม 2x2 ใช้หลักการเดียวกันเมื่อรับบอลแล้วให้โยนบอลให้เพื่อนโยนกลับไปยังแดนของคู่ต่อสู้
เกมนี้ใช้วิธีการฝึกโดยใช้การโยนบอลรับบอลข้ามตาข่าย เช่นเดียวกับเกมวอลเลย์บอลจริง เป็นการฝึกสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอลในสถานการณ์การแข่งขัน
ส่งบอลข้ามตาข่าย
วิธีฝึกที่ 1
- แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ส่งบอลข้ามตาข่ายด้วยทักษะการส่งบอลด้วยมือล่าง โดยปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้นก่อน 1 ครั้งแล้วส่งลูกกลับไปยังฝั่งคู่ต่อสู้จากนั้นไปต่อท้ายแถว
- ผู้ฝึกสอนสามารถกำหนดวิธีการเล่นโดยอาจใช้การเล่นลูกมือล่างหรือมือบนก็ได้
วิธีฝึกที่ 2
ฝึกเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 แต่ไม่ต้องปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้นก่อน
เกม 3x3
วิธีเล่น
- แบ่งสนามเป็น 4 ส่วน
- ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คนส่งบอลข้ามตาข่ายโดนเริ่มเล่นด้วยการเสริฟลูกมือล่าง
- การส่งบอลกลับสามารถปล่อยลูกบอลกระดอนพื้น 1 ครั้งหรือไม่ก็ได้
- เปลี่ยนการแข่งขันจากแนวตรงเป็นแนวทแยง
เคลื่อนที่ส่งบอล
วิธีเล่น
- ใช้การเสริฟด้วยมือล่าง ก่อนส่งบอลข้ามตาข่ายแต่ละฝ่ายสามารถเล่นบอลได้ 2-3 ครั้งก่อนส่งบอลไปยังฝ่ายตรงข้าม
เกมวอลเลย์บอล
เช่นเดียวกับวิธีในข้อ 1 แต่เพิ่มคะแนนเป็น 2 คะแนนหากผู้เล่นส่งบอลข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามด้วยวิธีกระโดดหรือตบ
วิธีการฝึกเด็กหัดเล่นวอลเลย์บอลทั้งหมด 6 ตอนที่ได้นำเสนอไปนั้นผู้ฝึกสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามแนวทางของแต่ละท่านให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของเด็ก ๆ ที่ท่านจะฝึก